
พระสารีบุตร ถือกำเนิดในครรภ์ของนางสารีพราหมณีในบ้านอุปติสสคาม ณ หมู่บ้านนาลกะ (นาลันทะ) ไม่ไกลกรุงราชคฤห์ เดิมชื่อ อุปติสสะ บิดาคือ วังคันตพราหมณ์ มารดาคือ สารีพรามหณี มีน้องชาย ๓ คนชื่อ อุปเสนะ (เอตทัคคมหาสาวกผู้นำความเลื่อมใสมาโดยรอบ) ,จุนทะ (พระมหาสาวกจุนทะ แต่พระส่วนใหญ่ชอบเรียกท่านว่า สามเณรจุนทะ จนติดปาก), เรวตะ (เอตทัคคมหาสาวกเลิศทางผู้อยู่ป่าเป็นวัตร), มีน้องสาว ๓ คน นามว่า จาลา, อุปจาลา และสีสุปจาลา ซึ่งต่อมาได้บวชเป็นภิกษุณีและสามารถบรรลุธรรมขั้นสูง เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด แม้สหายของท่านคือ พระโมคคัลลานะ ก็ถือกำเนิดในครรภ์ของโมคคัลลีพราหมณีในวันเดียวกัน บ้านโกลิตคาม อันไม่ไกลกรุงราชคฤห์
วัยหนุ่มตอนเป็นคฤหัสถ์
ในกรุงราชคฤห์มีงานมหรสพประจำปีบนยอดเขา ซึ่งมาณพทั้งสองก็นั่งรวมกันดูมหรสพเป็นประจำ จนกระทั่งถึงวันหนึ่ง ท่านทั้งสองเริ่มมีความเบื่อหน่ายในงานมหรสพ ด้วยต่างคิดว่าไม่มีประโยชน์อะไรที่ควรดูในมหรสพเหล่านี้ เพราะคนทั้งหมด ต่างก็จะล้มหายตายจากกันไป เราควรแสวงธรรมซึ่งเป็นเครื่องหลุดพ้น ดังนี้ ขณะนั้นโกลิตะเห็นเพื่ออุปติสสะใจลอยจึงกล่าวถาม อุปติสสะจึงบอกความในใจ ที่เบื่อหน่ายต่อมหรสพและความต้องการแสวงหาธรรมอันเป็นเครื่องหลุดพ้นแล้วจึงถามกลับบ้าน ซึ่งโกลิตะก็ตอบโดยมีเนื้อความเช่นเดียวกัน เมื่อต่างคนต่างทราบความในใจแล้ว จึงชวนกันไปบวชในสำนักของสัญชัยปริพาชก พร้อมกับมาณพอีก ๕๐๐ คน เมื่อบวชแล้วท่านทั้งสองได้เรียนจบลัทธิของสัญชัยปริพาชกทั้งหมด โดยใช้เวลาเพียง ๒-๓ วันเท่านั้น เมื่อหมดความรู้ที่จะศึกษาแล้ว และยังไม่เห็นถึงธรรม ท่านจึงอำลาและแสวงหาอาจารย์ท่านอื่นๆต่อไป ซึ่งท่านทั้งสองได้ตกลงกันว่า หากใครบรรลุอมตะก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่กัน
สมัยนั้น พระอัสสชิเถระหนึ่งในภิกษุปัญจวัคคีย์ ได้ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์แต่เช้าตรู่ อุปติสสปริพาชกทำภัตกิจแต่เช้ามืดแล้วเดินไปอารามปริพาชก ได้เห็นพระเถระจึงตั้งใจเข้าไปสอบถามคำถามต่างๆ แต่เนื่องจากพระเถระกำลังบิณฑบาตอยู่ จึงติดตามไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงสถานที่แห่งหนึ่ง จึงเข้าไปอุปัฏฐากพระเถระ เมื่อเสร็จจากภัตกิจแล้วจึงได้สนทนาธรรมกัน โดยการสนทนาธรรมในครั้งนี้ทำให้ท่านได้บรรลุธรรมขั้นโสดาบัน เมื่อสอบถามถึงสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านจึงกลับไปตามโกลิตปริพาชก เมื่อท่านได้กล่าวคาถาที่พระเถระได้มอบให้ไว้ โกลิตปริพาชกก็บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันเช่นเดียวกัน ท่านทั้งสองจึงนับถือพระอัสสชิเป็นอาจารย์ และไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเวฬุวัน แต่ก่อนไป ท่านทั้งสองได้ไปชักชวนอาจารย์เก่า คือสัญชัยปริพาชก แต่อาจารย์ท่านปฏิเสธ แต่มีอันเตวาสิก ๒๕๐ คนได้ติดตามไปด้วย
เมื่อพระศาสดากำลังทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัท ๔ เห็นชนเหล่านั้นแต่ไกล จึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ๒ คนนั้น คือโกลิตะและอุปติสสะกำลังเดินมา ทั้งสองนี้แหละจักเป็นคู่สาวกที่เลิศที่เจริญ ครั้นแล้วทรงขยายพระธรรมเทศนา เนื่องด้วยจริยาแห่งบริษัทของ ๒ สหายนั้น ในครั้งนั้นบรรดาผู้ติดตามทั้งหมดต่างได้บรรลุอรหัตผล ยกเว้นพระอัครสาวกทั้งสอง เมื่อนั้นพระศาสดาจึงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้

การบรรลุธรรม
หลังจากพระสารีบุตรเถระบวชได้ครึ่งเดือน ก็เข้าไปอาศัยอยู่ในถ้ำสุกรขาตากับพระศาสดา กรุงราชคฤห์ ขณะที่พระสารีบุตรถวายงานพัดอยู่นั้น เมื่อพระศาสดาทรงแสดงเวทนาปริคหสูตรแก่ทีฆนขปริพาชก ผู้เป็นหลานของพระสารีบุตร ท่านได้ส่งญาณไปตามกระแสพระสูตร ก็ได้บรรลุถึงที่สุดสาวกบารมีญาณ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในวันขึ้น ๑๕ เดือน ๓ เวลาบ่ายในเวลาต่อมา พระศาสดาจึงทรงสถาปนาพระมหาสาวก้ทั้งสองไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า สารีบุตรเป็นยอดของภิกษุสาวกของเราผู้มีปัญญามาก มหาโมคคัลลานะเป็นยอดของภิกษุสาวกของเราผู้มีฤทธิ์มาก แม้ว่าพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะจะเกิดพร้อมกัน แต่ด้วยพระสารีบุตรสำเร็จเป็นพระโสดาบันก่อน พระผู้มีพระภาคจึงถือให้พระสารีบุตรเป็นผู้พี่ของพระโมคคัลลานะนิพพานเมื่อพระสารีบุตรอาพาธ ท่านจึงทูลลาพระพุทธเจ้ากลับไปนิพพานยังบ้านเกิด ก่อนนิพพานท่านได้ทำให้โยมมารดาเปลี่ยนใจ หันมายอมรับนับถือพระพุทธศาสนา โดยแสดงธรรมแก่มารดาจนบรรลุธรรมขั้นโสดาบัน หลังจากท่านนิพพานแล้วพระจุนทะจึงนำพระธาตุของพระสารีบุตรไปถวายพระพุทธเจ้าพระสารีบุตรปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้าประมาณ ๖ เดือน คือ วันเพ็ญ เดือน ๑๒(ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) เวลาใกล้รุ่ง ที่บ้านตนเองพระอัญญาโกณฑัญญะ

.....พระอัญญาโกณฑัญญะ ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นบุตรคหบดีมหาศาลชาวหงสวดี วันหนึ่งเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับพวกชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู ( แปลว่า ผู้รู้ราตรีนาน หมายถึงได้บวชก่อนใครได้รู้ได้ฟังมาก) แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้างท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน ๗ วัน วันสุดท้ายได้สั่งให้เปิดเรือนคลังเก็บผ้า นำผ้าเนื้อดีเลิศมาวางถวายไว้แทบยุคลบาทของพระพุทธเจ้าและถวายพระสาวกแล้วกราบทูลว่า
“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นเหมือนภิกษุรูปที่พระองค์ทรงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเมื่อ ๗ วันก่อนจากนี้ด้วยเถิด นั่นคือขอให้ได้บวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าในอนาคตแล้วได้รู้แจ้งธรรมก่อนใครหมด
พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูความเป็นไปในอนาคตของท่านด้วยพระญาณแล้ว ทรงเห็นว่าความปรารถนาของท่านสำเร็จได้แน่จึงทรงพยากรณ์ว่า
"ในอีก ๑๐๐, ๐๐๐ กัปข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ จักได้รู้แจ้งธรรมก่อนใคร และจักได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู”
ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่น ๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้เป็นกำลังสำคัญในการสร้างกำแพงแก้วล้อมพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ ครั้นถึงวันประดิษฐานพระเจดีย์ ก็ได้สร้างเรือนแก้วไว้ภายในพระเจดีย์อีก จากชาตินั้น บุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าวิปัสสีชาติที่พบพระพุทธเจ้าวิปัสสีนั้น ท่านเกิดเป็นบุตรของกฎุมพีชาวเมืองพันธุมดี มีชื่อว่า “ มหากาล”มหากาลมีน้องชายชื่อ “ จูฬกาล” ทั้ง ๒ มีอุปนิสัยแตกต่างกัน กล่าวคือ มหากาลเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าวิปัสสี แต่จูฬกาลกลับไม่เลื่อมใส ดังนั้น ทั้ง ๒ จึงมีความเห็นขัดแย้งอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับการทำบุญมหากาลได้แบ่งนาออกเป็น ๒ ส่วน โดยให้ส่วนหนึ่งเป็นสมบัติของตน และอีกส่วนหนึ่งนั้นเป็นสมบัติของจูฬกาล แล้วได้นำเอาผลิตผลที่เกิดจากนาส่วนของตนนั้นมาทำบุญ จนจวบสิ้นอายุขัย จากชาตินั้น บุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภูมิต่าง ๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันท่านมาเกิดเป็น บุตรพราหมณ์มหาศาลในหมู่บ้านพราหมณ์โทณวัตถุ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองกบิลพัสดุ์ ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่อดีตชาติประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันชาติ ที่ได้รู้แจ้งธรรมและบวชในพระพุทธศาสนาก่อนใคร พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู ดังกล่าวมาแล้วฝ่ายพระปัญจวัคคีย์ที่เหลือ คือ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะและพระอัสสชิ ซึ่งมีอดีตชาติร่วมกับพระอัญญาโกณฑัญญะ ตรงที่ตั้งจิตปรารถนาให้ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมก่อนใคร และปรารถนาจะบรรลุอรหัตผลพร้อมกัน ก็ได้สิ่งที่ปรารถนาไว้คือ

พระบรมธาตุของพระอัญญาโกณฑัญญะ

พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลในบ้านพราหมณ์ ซึ่งไม่ห่างไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ "โกณทัญญะ" เมื่อเจริญวัยแล้วได้เข้าศึกษาเล่าเรียน จบไตรเพทและรู้ลักษณะมนต์ คือ ตำราทายลักษณะ ในคราวที่พระมหาบุรุษประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดาได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาเลี้ยงโภชนาหารในพระราชพิธีทำนายพระลักษณะตามพระราชประเพณี ได้คัดเลือก พราหมณ์ ๘ คน ในจำนวนพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ให้เป็นผู้ทำนายลักษณะของพระมหาบุรุษ ในขณะนั้น โกณฑัญญะ พราหมณ์ยังเป็นหนุ่ม ได้รับเชิญมาในงาน และท่านก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับเลือก โกณฑัญญะพราหมณ์เป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุด ในบรรดาที่ได้รับการคัดเลือก ทั้งหมด พราหมณ์ทั้ง ๗ คน เมื่อตรวจดูลักษณะของพระมหาบุรุษแล้วทำนายไว้เป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้ ๑. ถ้าอยู่ครองฆราวาสจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒. ถ้าเสด็จออกทรงผนวชจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลกส่วนโกณฑัญญพราหมณ์นั้นมีความแน่ใจว่า พระองค์จักเสด็จออก ทรงผนวชแน่นอน จึงทำนายไว้เป็นลักษณะเดียวว่า พระองค์จักเสด็จออกทรงผนวช และจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลกแน่แท้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โกณฑัญญพราหมณ์มีความตั้งใจว่า ถ้าพระองค์เสด็จออกทรงผนวชเมื่อไร ถ้าตนเองยังมีชีวิตอยู่จะออกบวชตามเมื่อนั้น ในเวลาต่อมา เมื่อพระองค์เสด็จออกทรงผนวชแล้วและทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ (ทุกรกิริยา คือ การกระทำที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง หรือที่เรียกว่า การทรมานตนเอง เช่น อดอาหาร) โกณฑัญญพราหมณ์ได้ทราบข่าวนั้น จึงชักชวนพราหมณ์ ๔ คน คือ ๑. วัปปะ ๒. ภัททิยะ ๓. มหานามะ ๔. อัสสชิ เรียกว่า "ปัญจวัคคีย์" พราหมณ์ทั้ง ๕ คน ได้ติดตามพระองค์เพื่อคอยปรนนิบัติทุกเช้าค่ำ ด้วยหวังว่าถ้าพระองค์ได้บรรลุธรรมใดแล้ว จักได้เทศนาสั่งสอนตนเอง ให้บรรลุธรรมนั้นบ้างเมื่อพระองค์ ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างเต็มที่ประมาณ ๖ ปีแล้ว พระองค์ทรงสันนิษฐานว่ามิใช่หนทางแห่งการตรัสรู้ ทรงตั้ง พระทัยว่า จะทำความเพียรทางใจ จึงทรงเลิกการกระทำทุกรกิริยานั้นเสัย ส่วนปัญจวัคคีย์ซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้าคิดว่า พระองค์ ทรงคลายความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมากเสียแล้วจึงหมดความเลื่อมใส เกิดความเบื่อหน่าย พากันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทรงดำริหาคนที่จะรับพระธรรมเทศนา เป็นคนแรก อันดับแรกพระองค์ทรงระลึกถึงอาจารย์ ๒ ท่าน คือ ๑. อาฬารดาบส กาลามโคตร ๒. อุททกดาบส รามบุตรซึ่งพระองค์ได้อาศัยศึกษา ลัทธิของท่าน แต่ท่านทั้งสองได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว ลำดับต่อมาทรงระลึกถึงพวกปัญจวัคคีย์ ที่เคยเฝ้าปฏิบัติอุปัฏฐากพระองค์มา ครั้นทรงดำริอย่างนี้ก็เสด็จไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ขณะเดียวกันพวกปัญจวัคคีย์ได้เห็น พระองค์เสด็จมาแต่ไกล คิดว่า พระองค์เสด็จมาแสวงหาคนอุปัฏฐาก จึงได้ตกลงกันว่าพระสมณโคดมนี้คลายจากความเพียร มาเป็นผู้มักมากเสียแล้วเสด็จมาที่นี่ พวกเราไม่พึงไหว้ ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับ และอย่ารับบาตร จีวร ของพระองค์เลย จะปูอาสนะ ที่นั่งไว้เท่านั้น ถ้าพระองค์ทรงมี ความประสงค์ก็จะประทับนั่งเองครั้นเมื่อ พระองค์เสด็จเข้าไปถึงแล้ว อาศัยความเคารพที่เคยมีต่อพระองค์มาก่อน ได้บรรดาลให้ลืมกติกานัดหมาย ที่ทำกัน ไว้ทั้งหมด พากันลุกขึ้นต้อนรับและทำสามีจิกรรมดังที่เคยปฏิบัติมา แต่ก็ยังมีการแสดงกิริยากระด้างกระเดื่อง สนทนากับพระองค์ ด้วยถ้อยคำไม่เคารพ พระองค์ตรัสบอกว่าเราได้ตรัสรู้ "อมฤตธรรม" ด้วยตัวของเราเอง (อมฤตธรรม หมายถึงธรรมที่ไม่สูญหาย อยู่คู่โลกตลอดไป) ขอให้ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟังเถิด เราจักแสดงให้ฟัง เมื่อท่านทั้งหลาย ตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม ที่เรา สั่งสอนแล้ว อีกไม่ช้าจักได้บรรลุอมฤตธรรมนั้น พวกปัญจวัคคีย์ได้กล่าว คัดค้านถึงสองสามครั้งว่า พระองค์คลายจากความเพียรเสียแล้ว จักบรรลุอมฤตธรรมได้อย่างไร พระองค์จึงตรัสให้ระลึกถึงกาลหนหลังว่า ก่อนนี้เธอทั้งหลายได้ยินได้ฟังวาจาที่เราพูดมา เช่นนี้บ้างหรือ ไม่ พวกปัญจวัคคีย์ระลึกขึ้นได้ว่า พระวาจาเช่นนี้พระองค์ไม่เคยตรัสมาก่อนเลย จึงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา ที่พระองค์เทศนาสั่งสอน สืบต่อไปพระองค์ ได้ตรัสปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณแก่ปัญจวัคคีย์ ในเวลาจบลงแห่งพระธรรม เทศนา ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแก่โกณธัญญะ (ธรรมจักษุ หมายถึง โสดาปัตติมรรค) ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา" ท่านที่ได้บรรลุปัตติมรรคเรียกว่าพระโสดาบัน เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า โกณธัญญะ ได้ดวงตาเห็น ธรรมแล้ว ทรงเปล่งพระอุทานว่า "อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ" แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ เพราะอาศัยคำว่า อญฺญาสิ ที่แปลว่า ได้รู้แล้ว คำว่า อัญญา จึงนำหน้าท่านโกณฑัญญะว่า อัญญาโกณฑัญญะ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาเมื่อท่าน อัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมจึงได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็ ทรงอนุญาตให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาด้วยพระวาจาว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจง ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อถึงที่สุดทุกข์โดยชอบ" การอุปสมบทของอัญญาโกณฑัญญะก็สำเร็จด้วยพระวาจาเพียงเท่านี้ เรียกการ อุปสมบทแบบนี้ว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" ซึ่งพระอัญญาโกณฑัญญะได้รับการอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นองค์แรกต่อจากนั้น พระองค์ก็ทรงเทศนาให้ปัญจวัคคีย์อีก ๔ คนได้ดวงตาเห็นธรรม และได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุด้วย วิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เช่นเดียวกัน ต่อจากนั้นพระองค์ได้เทศนาเกี่ยวกับหนทางแห่งการอบรมวิปัสนาวิมุตติ อันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ชื่อว่า "อานัตตลักขณสูตร" ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ปัญจวัคคีย์ก็หลุดพ้นจากกิเลสาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปทานสำเร็จเป็น พระอรหันต์ (อุปาทาน หมายถึง ความยึดมั่นในสิ่งต่าง ๆ ด้วยอำนาจกิเลศ)พระอัญญา โกณฑัญญะได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า "เป็นยอดกว่าภิกษุทั้งหลายผู้รัตัญญู" แปลว่าผู้รู้ราตรี หมายถึง ท่านเป็นผู้เก่าแก่ ได้รับการอุปสมบทก่อนภิกษุรูปอื่นทั้งหมดในพระพุทธศาสนา เป็นผู้รอบรู้เหตุการณ์ต่าง ๆมาแต่ต้น เป็นผู้มี ประสบการณ์มากพระอัญญา โกณฑัญญะได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศศาสนา เมื่อถึงเวลาอันสมควรท่านได้ดับขันธปรินิพพาน ก่อนที่ พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
No comments:
Post a Comment